วันอาทิตย์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2558

สารเสพติด

โทษและพิษภัยของสารเสพติด


ด้านร่างกาย และจิตใจ

1. สารเสพติดจะให้โทษโดยทำให้การปฏิบัติหน้าที่ ของอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายเสื่อมโทรม พิษภัยของสารเสพย์ติดจะทำลายประสาท สมอง ทำให้สมรรถภาพเสื่อมลง มีอารมณ์ จิตใจไม่ปกติ เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ง่าย เช่น วิตกกังวล เลื่อนลอยหรือฟุ้งซ่าน ทำงานไม่ได้ อยู่ในภาวะมึนเมาตลอดเวลา อาจเป็นโรคจิตได้ง่าย
2. ด้านบุคลิกภาพจะเสียหมด ขาดความสนใจในตนเองทั้งความประพฤติความสะอาดและสติสัมปชัญญะ มีอากัปกิริยาแปลกๆ เปลี่ยนไปจากเดิม   ความคิดอ่านช้า ความจำเสื่อม ขาดสติ อาเจียน นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร และจะเสียชีวิตในที่สุด
3. สภาพร่างกายของผู้เสพจะอ่อนเพลีย ซูบซีด ผอมเหลือง เหลือแต่หนังหุ้มกระดูก   หมดเรี่ยวแรง ขาดความกระปรี้กระเปร่าและเกียจคร้าน เฉื่อยชา เพราะกินไม่ได้ นอนไม่หลับ ปล่อยเนื้อ ปล่อยตัวสกปรก ความเคลื่อนไหวของร่างกายและกล้ามเนื้อต่างๆ ผิดปกติ   
4. ทำลายสุขภาพของผู้ติดสารเสพติดให้ทรุดโทรมทุกขณะ เพราะระบบอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายถูกพิษยาทำให้เสื่อมลง น้ำหนักตัวลด ผิวคล้ำซีด เลือดจางผอมลงทุกวัน
5. เกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ง่าย เพราะความต้านทานโรคน้อยกว่าปกติ ทำให้เกิดโรคหรือเจ็บไข้ได้ง่าย และเมื่อเกิดแล้วจะมีความรุนแรงมาก รักษาหายได้ยาก
6. อาจประสบอุบัติเหตุได้ง่าย สาเหตุเพราะระบบการควบคุมกล้ามเนื้อและประสาทบกพร่อง
ใจลอย ทำงานด้วยความประมาท และเสี่ยงต่ออุบัติเหตุตลอดเวลา
7. เกิดโทษที่รุนแรงมาก คือ จะเกิดอาการคลุ้มคลั่ง ถึงขั้นอาละวาด เมื่อหิวยาเสพติดและหายาไม่ทัน เริ่มด้วยอาการนอนไม่หลับ น้ำตาไหล เหงื่อออก ท้องเดิน อาเจียน กล้ามเนื้อกระตุก กระวนกระวาย และในที่สุดจะมีอาการเหมือนคนบ้า เป็นบ่อเกิดแห่งอาชญากรรม









ด้านครอบครัว

1. ความรับผิดชอบต่อครอบครัว และญาติพี่น้องจะหมดสิ้นไป ไม่สนใจที่จะดูแลครอบครัว
2. ทำให้สูญเสียทรัพย์สิน เงินทอง ที่จะต้องหามาซื้อสารเสพติด จนจะไม่มีใช้จ่ายอย่างอื่น และต้องเสียเงินรักษาตัวเอง
3. ทำงานไม่ได้ขาดหลักประกันของครอบครัว และนายจ้างหมดความไว้วางใจ
4. สูญเสียสมรรถภาพในการหาเลี้ยงครอบครัว นำความหายนะมาสู่ครอบครัวและญาติพี่น้อง

ด้านสังคม

เกิดปัญหาอาชญากรรม เพราะผู้ติดยาจำเป็นต้องใช้เข็มสำหรับฉีดยาเสพติดเป็นประจำทุกวัน และจำเป็นต้องเพิ่มปริมาณขึ้นอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น การประกอบอาชีพสุจริตทั่วๆ ไปนั้นย่อมเป็นการยากที่จะหาเงินมาซื้อสารเสพติดได้อย่างพอเพียง และในสภาพความเป็นจริงผู้ติดยาจะไม่มีใครคบค้าหรือร่วมสมาคมด้วยเหตุนี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการประกอบอาชญากรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาชญากรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์ นอกจากนั้นยังเป็นสาเหตุของปัญหาสังคมอื่นๆ อีกมากมาย เช่น ปัญหาวัยรุ่น ปัญหาการพนัน ปัญหาครอบครัว ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคเอดส์







ด้านความมั่นคงของชาติ

ความร้ายแรงของสารเสพติดมีผลโดยตรงต่อความมั่นคงของประเทศชาติเป็นอย่างมาก เพราะถ้าประเทศใดมีประชากรติดสารเสพติดจำนวนมาก ประเทศนั้นก็จะอ่อนแอ เศรษฐกิจเสียหาย มีปัญหาสังคมต่างๆ เหล่านี้ย่อมไม่เป็นผลดีต่อความมั่นคงของประเทศ

http://mwits237narcotic.blogspot.com/2013/06/blog-
post_1053.html


ชนิดของยาหรือสารเสพติดที่ใช้


ก. แบ่งตามการออกฤทธิ์
๑. ออกฤทธิ์กดประสาท (depressants) จะออกฤทธิ์กดประสาทสมอง ศูนย์ควบคุม การหายใจในสมอง และประสาทที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะบางอย่างของร่างกาย ยาพวกนี้
ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน และเซโคบาร์บิทาล (secobarbital) ซึ่งเรียกกันในหมู่ผู้ใช้ว่า “เหล้าแห้ง” หรือ “ปีศาจแดง”
๒. ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท (stimulants) ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาทสมองส่วนกลางโดยตรง และออกฤทธิ์กระตุ้นการเต้นของหัวใจและอารมณ์ ได้แก่ แอมเฟตามีนหรือที่เรียกทั่วไปว่า “ยาบ้า” หรือ“ยาขยัน” และโคเคน เป็นต้น
๓. ออกฤทธิ์หลอนประสาท (hallucinogens) ออกฤทธิ์ต่อประสาทสมอง ทำให้รับรู้ความรู้สึก (perception) ผิดไป เกิดอาการประสาทหลอน หรือแปลสิ่งเร้าผิด (illusion) ได้แก่ แอลเอสดี แก๊สโซลีน (gasoline) เปลือกกล้วย ยางมะละกอ และเฟนไซคลิดีน
๔. ออกฤทธิ์หลายอย่าง คือ ออกฤทธิ์ทั้งกดประสาท กระตุ้นประสาท และหลอนประสาท ได้แก่ กัญชา ใบกระท่อม ใช้น้อยๆ จะกระตุ้นประสาท ใช้มากขึ้นจะกดประสาท และถ้าใช้มากขึ้นอีกจะเกิดประสาทหลอน
ข. แบ่งตามชนิดของยา
๑. ฝิ่นและแอลคาลอยด์ของฝิ่น ได้แก่
ก. ฝิ่น (opium) ได้มาจากยางของผลฝิ่นดิบ ลักษณะเป็นยางเหนียวสีน้ำตาลไหม้ หรือดำ มีกลิ่นเฉพาะตัว และรสขมจัด ต้นฝิ่นสามารถปลูกได้ในประเทศไทย โดยเฉพาะทางภาคเหนือ วิธีเสพคือ การสูบหรือกิน ในสมัยแรกคนไทยนำฝิ่นมาใช้เพื่อลดอาการเจ็บปวด
ข. มอร์ฟีน (morphine) เป็นแอลคาลอยด์ของฝิ่น สกัดจากฝิ่น มีลัษณะเป็นผงสีขาวนวล หรือสีเหลืองอ่อน ละลายน้ำได้ดี ไม่มีกลิ่น รสขมจัด ออกฤทธิ์แรงกว่าฝิ่น ๕-๑๐ เท่า วิธีเสพคือ ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ฉีดเข้ากล้ามหรือฉีดเข้าหลอดเลือดดำ
ค. เฮโรอีน (heroin) เป็นอนุพันธ์ของมอร์ฟีน มีฤทธิ์รุนแรงกว่ามอร์ฟีน ๔-๘ เท่าตัว เป็นยาเสพติดที่ร้ายแรงที่สุด ที่แพร่ระบาดมีอยู่ ๒ ชนิดคือ
๑. เฮโรอีนบริสุทธิ์ เรียกว่า เบอร์ ๔ เป็นผงละเอียดสีขาว ไม่มีกลิ่น รสขมจัด ในเมืองไทยความบริสุทธิ์ของเฮโรอีนชนิดนี้มีถึงร้อยละ ๙๐ ในขณะที่ต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา มีเพียงร้อยละ ๕ เสพโดยวิธีสูบ และฉีดเข้าใต้ผิวหนังหรือเข้าหลอดเลือดดำ
๒. เฮโรอีนผสม เรียกว่า เบอร์ ๓ หรือไอระเหย มีลักษณะเป็น เกล็ดสีม่วง สีอิฐ สีเทา หรือสีต่างๆ เป็นเฮโรอีนบริสุทธิ์ ซึ่งผสมกับสารอื่น เช่น สตริ๊กนิน (strychnin) ยานอนหลับ และยาอื่นๆ เสพโดยวิธีสูดไอ
ง. อื่นๆ ได้แก่ dilaudid, codeine ฯลฯ
๒. ยานอนหลับ (hypnotics) ยาสงบประสาท (sedatives) และยาคลายความวิตก กังวล (tranquilizers) ยานอนหลับและยาสงบประสาท ได้แก่ พวกบาร์บิจุเรท เมโปรบาเมท (meprobamate) ฯลฯ แต่ตัวที่สำคัญคือ บาร์บิจุเรท
บาร์บิจุเรทตัวที่นิยมใช้ที่สุดคือ เซโคนาล (seconal) ซึ่งมีชื่อเรียกกันในหมู่ผู้ใช้ว่า “เหล้าแห้ง” หรือ “ปีศาจแดง” ฤทธิ์ของยาจะไปกดความรู้สึกผิดชอบชั่วดี และความละอาย จึงมักจะนำไปสู่ความกล้าอย่างบ้าบิ่น การวิวาทรุกราน และอาชญากรรมในหมู่ผู้ใช้ที่เป็นชาย ในหญิงที่ทำงานกลางคืน เช่น พาร์ทเนอร์ นักร้อง หมอนวด และโสเภณีก็เป็นที่นิยม อันตรายที่ร้ายแรงอีกอย่างของยาเสพติดประเภทนี้คือ ทำให้เกิดการทำร้ายตนเอง เช่น การใช้มีดกรีดแขน กรีดหน้า และฆ่าตัวตาย
ยาคลายความวิตกกังวล ได้แก่ nitrazepam, chlordiazepoxide และ diazepam ฯลฯ นิยมใช้กันมากในปัจจุบันเพื่อลดอาการวิตกกังวล ซึมเศร้า ฯลฯ ยาจำพวกนี้เป็นที่ยอมรับใน ทางการแพทย์ว่าทำให้เสพติดได้ ถ้าใช้โดยขาดความระมัดระวัง
๓. กัญชา (marijuana) อันตรายจากการสูบกัญชาไม่ร้ายแรงเท่ายาเสพติดชนิดอื่น แต่อย่างไรก็ตามเป็นที่ยอมรับกันว่า การติดกัญชาเป็นก้าวแรกที่จะนำไปสู่การติดยาเสพติดชนิดอื่น กัญชาได้มาจากทุกส่วนของต้นกัญชา หรือจากยางของยอดต้นกัญชา และเสพโดยวิธีสูบเหมือนบุหรี่ ในประเทศไทยกัญชามีราคาถูก หาได้ง่าย และคุณภาพดี
๔. ยากระตุ้นประสาท (sympathomimetic drugs) ได้แก่ แอมเฟตามีน และโคเคน แอมเฟตามีนเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายในหมู่ผู้ใช้ว่า “ยาบ้า” หรือ “ยาขยัน” ได้รับความนิยม เพราะผู้ใช้คิดว่ายาช่วยให้จิตใจสดชื่น บางคนใช้เพื่อลดความอ้วน รายงานจากแพทย์ว่า ผู้ที่ใช้ยานี้เสมอๆ จะรู้สึกอ่อนเพลียแต่ไม่สามารถหลับได้ จึงอาจทำให้เกิดอาการของโรคจิต ยานี้เป็นที่นิยมในหมู่นักขับรถบรรทุก จึงเชื่อว่าน่าจะเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดอุบัติเหตุบนทางหลวง
๕. ยาหลอนประสาท (hallucinogens) ได้แก่ แอลเอสดี ไอระเหยจากสารบางอย่าง เช่น น้ำยาซักแห้ง ทินเนอร์ กาวน้ำ และเบนซิน ฯลฯ ยาประเภทนี้ใช้แล้วทำให้เกิดอาการประสาทหลอน คล้ายคนวิกลจริต ปัจจุบันยาหรือสารเหล่านี้ยังไม่สู้เป็นปัญหาสำหรับประเทศไทย เพราะยังไม่เป็นที่นิยม และยาหรือสารบางชนิดยังมีราคาค่อนข้างแพง
๖. เฟนไซคลิดีน (PCP หรือ “angel dust”) เมื่อไม่นานมานี้ เฟนไซคลิดีนเป็นยาสำคัญตัวหนึ่งที่ถูกนำมาใช้อย่างผิดๆ ในวงการสัตวแพทย์ยานี้ใช้เป็นยาชา แต่ที่นำมาใช้อย่างผิดๆ ในคนมักเป็นยาที่ผลิตเองในบ้านและมีหลายลักษณะ ได้แก่ เป็นผง ผลึก เม็ด หรือเป็นลักษณะใบไม้ เสพโดยการกิน สูบ สูดไอ หรือฉีด ผู้ขายมักจะปลอมปนเฟนไซคลิดีนมากับกัญชา แอลเอสดี หรือ เมสคาลีน (mescaline) ผลของยาทำให้การทำงานของสมองผิดปกติไป และอาจถึงตายได้
๗. บุหรี่ เป็นสารสำคัญมากชนิดหนึ่ง ซึ่งเพิ่งถูกจัดอยู่ในจำพวกสิ่งเสพติด เพราะสามารถซื้อขายและเสพได้อย่างถูกกฎหมาย สารในบุหรี่ที่ทำให้เสพติดคือ nicotine เสพโดยวิธีสูบ และเคี้ยว แต่วิธีสูบเป็นวิธีสำคัญที่สุดที่ทำให้เสพติด เมื่อเสพบุหรี่เป็นระยะเวลานาน ผู้เสพจะไม่สามารถหยุดบุหรี่ได้ แม้จะรู้ว่าบุหรี่ให้โทษต่อร่างกายเพียงใด และเมื่อหยุดเสพจะทำให้เกิดอาการขาดยา อันเป็นลักษณะของการเสพติด แต่ในทางปฏิบัติเรามักไม่วินิจฉัยยกเว้นรายที่มาขอ รับการรักษาเพื่อหยุดบุหรี่ หรือแล้วแต่ความคิดเห็นของแพทย์เป็นรายๆ ไป องค์การอนามัยโลก เชื่อว่าบุหรี่ทำให้เกิด psychotoxic effect ต่อผู้เสพด้วย

http://www.healthcarethai.com/%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%9E%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94/

สิ่งเสพติดมีอะไรบ้าง?

กระท่อม
กระท่อม เป็นพืชเสพติดชนิดหนึ่ง ส่วนมากพบในทวีปเอเชีย โดยเฉพาะในประเทศอินเดีย และในประเทศไทย ลักษณะเป็นต้นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีแก่นเป็นไม้เนื้อแข็ง ใช้ส่วนของใบในการเสพ ลักษณะใบคล้ายใบกระดังงา หรือใบฝรั่ง ต้นหนาทึบ ต้นกระท่อมมี 2 ชนิด คือ
1. ชนิดที่มีก้านและเส้นใบเป็นสีแดงเรื่อๆ
2. ต้นสีเขียว ใบสีเขียว ดอกกลมโตเท่าผลพุทราไทยล้มอรอบด้วยเกสรสีแดงเรื่อๆ คล้ายดอกกระถิน มีชื่อเรียกต่างๆ เช่น กระทุ่มโคก กระทุ่มพาย เป็นต้น
วิธีการเสพกระท่อม :
1. เคี้ยวใบดิบ
2. ใช้ใบตากแห้งแล้วนำมาบดเป็นผงรับประทานแล้วดื่มน้ำตาม
3. ใช้ใบที่บดเป็นผงชงกับน้ำร้อนแบบชาจีน
ฤทธิ์ในทางเสพติด :         ในใบกระท่อมมีสารไมตราจัยนิน ที่ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท มีอาการเสพติดทางร่างกายเล็กน้อย มีอาการเสพติดทางจิตใจ อาจมีอาการขาดยาทางร่างกาย แต่ไม่รุนแรง
อาการผู้เสพ :         ทำงานไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ทนแดด ไม่รู้สึกร้อน ทำให้ผิวหนังไหม้เกรียม มีอาการมึนงง ปากแห้ง นอนไม่หลับ ท้องผูก
โทษที่ได้รับ :         ร่างกายทรุดโทรม มีอาการประสาทหลอน จิตใจสับสน
โทษทางกฎหมาย :          กระท่อมเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522
กัญชา (Cannabis, Marihuana, Ganja)
กัญชา เป็นพืชล้มลุกจำพวกหญ้าขึ้นได้ง่ายในเขตร้อน ลำต้นสูงประมาณ 2-4 ฟุต ลักษณะใบจะแยกออกเป็นแฉกประมาณ 5-8 แฉก คล้ายใบมันสำปะหลัง ที่ขอบใบทุกใบจะมีรอยหยักอยู่เป็นระยะๆ ออกดอกเป็นช่อเล็กๆ ตามง่ามของกิ่งและก้าน ส่วนที่คนนำมาเสพได้แก่ ส่วนของกิ่ง ก้าน ใบและยอดช่อดอกกัญชา โดยนำมาตากหรืออบแห้งแล้วบดหรือหั่นให้เป็นผงหยาบๆ จากนั้นจึงนำมายัดไส้บุหรี่สูบ (แตกต่างจากบุหรี่ทั่วไปที่ไส้บุหรี่จะมีสีเขียวต่างจากไส้ยาสูบที่มีสีน้ำตาล และขณะจุดสูบจะมีกลิ่นเหมือนหญ้าแห้งไหม้ไฟ) หรืออาจสูบด้วยกล้องหรือบ้องกัญชา บ้างก็ใช้เคี้ยว หรือผสมลงในอาหารรับประทาน ปัจจุบันรูปแบบของกัญชาที่พบนอกจากจะพบในลักษณะของกัญชาสด กัญชาแห้งอัดเป็นแท่งเป็นก้อนแล้วยังอาจพบในรูปของ "น้ำมันกัญชา" (Hashish Oil) ซึ่งมีลักษณะเป็นของเหลวสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำ ได้จากการนำกัญชามาผ่านกระบวนการสกัดหลายๆ ครั้งจึงได้เป็นน้ำมันกัญชาที่มีปริมาณสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทสูงถึง 20-60% หรืออาจพบในลักษณะของ "ยางกัญชา" (Hashish) เป็นยางแห้งที่ได้จากใบและยอดช่อดอกกัญชา ซึ่งโดยทั่วไปจะมีฤทธิ์แรงกว่ากัญชาสด และมีปริมาณสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทประมาณ 4-8%
         กัญชา เป็นยาเสพติดให้โทษที่ออกฤทธิ์หลายอย่างต่อระบบประสาทส่วนกลาง คือ ทั้งกระตุ้น กดและหลอนประสาท สารออกฤทธิ์ที่อยู่ในกัญชามีหลายชนิด แต่สารที่สำคัญที่สุดที่มีฤทธิ์ต่อสมองและทำให้ร่างกาย อารมณ์และจิตใจเปลี่ยนแปลงไป คือ เตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydro Cannabinol) หรือ THC ที่มีอยู่มากในส่วนของยอดช่อดอกกัญชา สาร THC นี้ ในเบื้องต้นจะออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท ทำให้ผู้เสพตื่นเต้น ช่างพูด และหัวเราะตลอดเวลา ต่อมาจะกดประสาททำให้ผู้เสพมีอาการคล้ายเมาเหล้าอย่างอ่อนๆ เซื่องซึมและง่วงนอน หากเสพเข้าไปในปริมาณมากๆ จะหลอนประสาททำให้เห็นภาพลวงตา หูแว่ว ความคิดสับสน ควบคุมตนเองไม่ได้
เพศของกัญชา
         กัญชาที่ปลูกนั้นอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ประเภทแรกปลูกเพื่อนำเส้นใยมาทอผ้า พวกนี้จะให้สารที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทเพียงเล็กน้อย ส่วนอีกพวกหนึ่ง จะให้สารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทที่รุนแรงจึงมักปลูกเพื่อใช้ในการเสพโดยเฉพาะ ต้นกัญชามีทั้งต้นตัวผู้และตัวเมีย ซึ่งล้วนแล้วแต่มีสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ด้วยกันทั้งสองเพศ แต่ส่วนใหญ่นิยมต้นตัวเมียมากกว่าต้นตัวผู้ เพราะต้นตัวเมียจะมีช่อดอก ช่อใบ ซึ่งเป็นส่วนที่มีปริมาณของสารที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทสูงกว่าส่วนอื่น โดยเฉพาะส่วนยอดช่อดอกตัวเมีย ที่เรียกว่า "กะหรี่กัญชา"
ฤทธิ์ในทางเสพติด :
         ออกฤทธิ์ผสมผสานทั้งกระตุ้น กดและหลอนประสาท มีอาการเสพติดทางจิตใจ ไม่มีอาการขาดยาทางร่างกาย
อาการผู้เสพ :
         อารมณ์อ่อนไหวเปลี่ยนแปลงง่าย ความคิดเลื่อนลอยสับสน ควบคุมตัวเองไม่ได้ ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ความจำเสื่อม กล้ามเนื้อลีบ หัวใจเต้นเร็ว หูแว่ว
โทษที่ได้รับ :          หลายคนคิดว่า การเสพกัญชานั้นไม่มีโทษร้ายแรงมากนัก แต่จากการศึกษาวิจัย พบว่า กัญชาเป็นยาเสพติดอีกชนิดหนึ่ง ที่มีอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพมากเกินกว่าที่คาดคิด อาทิเช่น
1. ทำลายสมรรถภาพทางกาย ผู้เสพกัญชาในปริมาณมาก เป็นระยะเวลานานๆ จะทำให้ร่างกายเสื่อมโทรม จนไม่สามารถประกอบกิจการงานใดๆ ได้ โดยเฉพาะงานที่ต้องใช้แรงงาน ความคิด และการตัดสินใจ รวมทั้งจะมีลักษณะ Amotivation Syndrome คือ การหมดแรงจูงใจของชีวิต จะไม่คิดทำอะไรเลย อยากอยู่เฉยๆ ไปวันๆ ซึ่งมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและการทำงานเป็นอย่างมาก
2. ทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย การเสพติดกัญชามีผลร้ายคล้ายกับการติดเชื้อเอดส์ (HIV) กล่าวคือ กัญชาจะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานเสื่อมลงหรือบกพร่อง ร่างกายจะอ่อนแอและติดเชื้อโรคต่างๆ ได้ง่าย
3. ทำลายสมอง การเสพกัญชาแม้เพียงในระยะสั้น ทำให้ผู้เสพบางรายสูญเสียความทรงจำ เพราะฤทธิ์ของกัญชาจะทำให้สมองและความจำเสื่อม เกิดความสับสน วิตกกังวล และหากผู้เสพเป็นผู้มีอาการของโรคจิตเภท หรือป่วยเป็นโรคซึมเศร้าจะมีความเสี่ยง ที่จะเกิดอาการรุนแรงมากกว่าคนปกติทั่วไป
4. ทำให้เกิดมะเร็งปอด เนื่องจากผู้เสพจะอัดควันกัญชาเข้าไปในปอดลึกนาน หลายวินาที การสูบบุหรี่ยัดไส้กัญชาเพียง 4 มวน ซึ่งเท่ากับการสูบบุหรี่ 1 ซอง หรือ 20 มวน นั้นสามารถทำลายการทำงานของระบบ ทางเดินหายใจทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิด โรคมะเร็งได้มากกว่าคนสูบบุหรี่ธรรมดาถึง 5 เท่า และในกัญชายังมีสารเคมีที่เป็นอันตราย สามารถให้เกิดโรคมะเร็งได้
5. ทำร้ายทารกในครรภ์ กัญชาจะทำลายโครโมโซม ฉะนั้นหญิงที่เสพกัญชาในระยะตั้งครรภ์ ทารกที่เกิดมาจะพิการมีความผิดปกติทางร่างกาย เช่น ความผิดปกติของเซลล์ประสาทในสมอง ความผิดปกติของฮอร์โมนเพศและพันธุกรรม
6. ทำลายความรู้สึกทางเพศ กัญชาจะทำให้ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในชายลดลง ทำให้ปริมาณอสุจิน้อยลง ทั้งยังพบว่า ผู้เสพติดกัญชามักกลายเป็นคนขาดสมรรถภาพทางเพศ
7. ทำลายสุขภาพจิต ฤทธิ์ของกัญชาจะทำให้ผู้เสพมีอาการเลื่อนลอย ฝันเฟื่อง ความคิดสับสนและมีอาการประสาทหลอนจนควบคุมตนเองไม่ได้ ซึ่งถ้าเสพเป็นระยะเวลานานจะทำให้มีอาการจิตเสื่อม
         นอกจากผลร้ายที่มีต่อร่างกายและจิตใจ ของผู้เสพแล้ว การขับรถขณะเมากัญชายังก่อให้เกิดอันตรายได้มาก เพราะฤทธิ์ของกัญชาจะทำให้เสียสมาธิ ทำให้การตัดสินใจผิดพลาด การตอบสนองช้าลง การรับรู้ทางสายตาบิดเบือน ความสามารถในการมองเห็นส่งเคลื่อนที่ด้อยลง จึงเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อผู้ขับรถยนต์ หรือแม้แต่เดินบนท้องถนนก็ตาม
โทษตามกฎหมาย :          จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522
โคเคน (Cocaine)
         โคเคน หรือ โคคาอีน เป็นยาเสพติด ที่สกัดได้จากใบของต้นโคคา ซึ่งเป็นต้นไม้ที่นิยมลักลอบปลูกมากในประเทศแถบอเมริกาใต้ เช่น เปรู โบลิเวีย และโคลัมเบีย เป็นต้น ในใบโคคาจะมีโคเคนอยู่ประมาณ 2% โคเคนมีชื่อเรียกในกลุ่มผู้เสพว่า COKE, SNOW, SPEED BALL, CRACK โคเคนสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ โคเคนเบส (Cocaine base) และเกลือโคเคน เช่น โคเคนไฮโดรคลอไรด์ (Cocaine hydrochloride) และโคเคนซัลเฟต (Cocaine sulfate) โคเคนที่พบในประเทศไทย มี 2 ชนิด ได้แก่ 1. โคเคนชนิดผง มีลักษณะเป็นผงละเอียดสีขาว รสขม ไม่มีกลิ่น 2. โคเคนรูปผลึกเป็นก้อน (Free base, Crack)
วิธีการเสพ : 1. การสูดโคเคนผงเข้าทางจมูก หรือเรียกว่า การนัตถุ์
2. การละลายน้ำฉีดเข้าเส้นเลือดดำ
3. การสูดควัน 

ฤทธิ์ในทางเสพติด : 

- โคเคนออกฤทธ์กระตุ้นประสาท - มีอาการเสพติดทางร่างกายเล็กน้อยขึ้นอยู่กับวิธีการและปริมาณที่เสพ
- มีอาการทางจิตใจ
- มีอาการขาดยาทางร่างกายแต่ไม่รุนแรง
อาการผู้เสพ :         หัวใจเต้นแรง ความดันโลหิตสูง กระวนกระวาย ตัวร้อนมีไข้ นอนไม่หลับ มีอาการซึมเศร้า
โทษที่ได้รับ :          ผนังจมูกขาดเลือดทำให้เยื่อบุโพรงจมูกฝ่อ ขาดหรือทะลุ สมองถูกกระตุ้นอย่างรุนแรง ทำให้เกิดอาการชัก มีเลือดออกในสมอง เนื้อสมองตายเป็นบางส่วน หัวใจถูกกระตุ้นอยู่เสมอ กล้ามเนื้อหัวใจเสื่อมลงทีละน้อยจนหัวใจบีบตัวไม่ไหว ทำให้หัวใจล้มเหลว ผลจากการเสพเป็นระยะเวลานาน ทำให้เกิดอาการโรคจิต ซึมเศร้า
โทษทางกฎหมาย           จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 2 ตามพระราชบัญญัติยา
บุหรี่ (Cigaratte)
บุหรี่ มีสารต่างๆ หลายชนิด แต่สารสำคัญที่ทำให้เกิดการเสพติดคือ นิโคติน เป็นสารแอลคะลอยด์ที่ไม่มีสี นิโคติน 30 มิลลิกรัมสามารถทำให้คนตายได้ บุหรี่ธรรมดามวนหนึ่งจะมีนิโคตินอยู่ราว 15-20 มิลลิกรัม ก็คือจำนวนนิโคตินในบุหรี่ 2 มวน สามารถทำให้คนตายได้ในทันที แต่การที่สูบบุหรี่ติดต่อกันหลายมวนแล้วไม่ตาย ก็เพราะว่ามีนิโคตินในควันบุหรี่ เป็นส่วนน้อยที่เข้าสู่ร่างกายของผู้สูบ
ฤทธิ์ในทางเสพติด :          บุหรี่ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท ไม่มีอาการเสพติดทางร่างกาย มีอาการเสพติดทางจิตใจ ไม่มีอาการขาดยาทางร่างกาย
อาการผู้เสพ :         ตาแห้ง ตาแดง ริมฝีปากแห้งเขียว เล็บเหลือง ฟันมีคราบดำจับ มือสั้น ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น หลอดลมอักเสบเกิดอาการระคายเคือง ต่อระบบทางเดินหายใจ ไอ เสียงแหบ
โทษที่ได้รับ :
          นิโคตินจะออกฤทธิ์กระตุ้นหัวใจให้ทำงานหนัก และในขณะเดียวกัน จะทำให้หลอดเลือดหดตัวอันเป็นสาเหตุของโรคหัวใจขาดเลือด ความดันโลหิตสูง โรคมะเร็งปอด ถุงลมโป่งพอง ถ้าผู้สูบบุหรี่เป็นหญิงมีครรภ์จะทำให้แท้งได้ง่าย หรือทารกที่คลอดออกมาจะมีน้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติ
วิธีการเลิกบุหรี่การเลิกสูบบุหรี่ทำได้โดย
1. บังคับใจตัว โดยมีความตั้งใจอย่างแน่ว่าจะเลิกบุหรี่โดยเด็ดขาด พยายามดับความอยาก ซึ่งจะต้องอดทนหน่อย ในระยะแรก ให้คิดเสียว่าบุหรี่เป็นกิเลส ทำให้สบายใจได้ชั่วครู่ชั่วยาม ถ้าหยุดสูบก็หงุดหงิดเกิดความอยากขึ้นมาใหม่ ไม่ได้ช่วยให้สบายขึ้นอย่างแท้จริง ฉะนั้นการบังคับใจตนเองให้สูงกว่ากิเลส (บุหรี่) ได้ จึงเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้เราอดบุหรี่ได้และมีความสบายอย่างแท้จริง
2. กลัวตาย ทุกครั้งที่คิดจะสูบพึงระลึกเสมอว่า การสูบบุหรี่ที่คิดว่าโก้เก๋นั้นมีอันตรายต่อร่างกายเพียงไร ท่านอาจจะทราบหรือยังไม่ทราบว่า
- บุหรี่ทำให้อายุสั้นกว่าคนปกติ 10 ปี หรือทุกๆ มวนที่สูบจะทำให้ตายเร็วขึ้น 6 นาที บุหรี่จึงเป็นสิ่งที่เผาผลาญชีวิตคนไปวันละเล็กละน้อย
- บุหรี่ทำให้สภาพกายของท่านไม่น่าดู เช่น ตาแห้ง ตาแดง ริมฝีปากเขียว เล็บเหลือง ฟันเป็นคราบจับอยู่
- บุหรี่ทำให้การทำงานของร่างกายเสื่อมเสีย เช่น มือสั่น เสียงแหบไอเรื้อรัง หลอดลมอักเสบ เป็นแผลในกระเพาะ หลอดเลือดแข็ง และเป็นโรคที่ทำให้เสียชีวิตได้มากที่สุด คือ มะเร็งในปอด
3. เสียดายทรัพย์ ก่อนจะสูบควรไตร่ตรองดูว่า การสูบบุหรี่แต่ละมวนก็เท่ากับเป็นการเผาเงินในกระเป๋าของท่านอย่างไม่ได้ประโยชน์อะไรตอบแทนเลย ลองคำนวณดูว่าเราจะต้องจ่ายค่าบุหรี่วันละเท่าไร คิดเป็นปีเท่าไร เพียงแต่เลิกสูบบุหรี่ได้ เอาเงินจำนวนนั้นมาใช้จ่ายสิ่งจำเป็นของตนเองหรือของครอบครัวก็จะมีความสุขขึ้น ตนเองก็จะมีสุขภาพอนามัยดี
         สรุปแล้ว ผู้ที่ตั้งใจเลิกบุหรี่ขอให้นึกถึง "บังคับใจตัว กลัวตาย เสียดายทรัพย์" และลองปฏิบัติให้ได้ข้อใดข้อหนึ่งก็จะเลิกสูบบุหรี่ได้

ฝิ่น   (Opium)

ฝิ่น เป็นสารประกอบชนิดหนึ่ง ซึ่งได้จากยางของผลฝิ่น ในเนื้อฝิ่นมีสารเคมีผสมอยู่มากมายประกอบด้วย โปรตีน เกลือแร่ ยางและกรดอินทรีย์ เป็นแอลคะอลยด์ (Alhaloid) ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ฝิ่นกลายเป็นยาเสพติดให้โทษร้ายแรง แอลคะลอยด์ ในฝิ่นแบ่งแยกออกได้เป็น 2 ประเภท คือประเภทที่ 1 ออกฤทธิ์ทำให้เกิดอาการมึนเมา และเป็นยาเสพติดให้โทษโดยตรงแอลคะลอยด์ประเภทนี้ทางเภสัชวิทยา ถือว่า เป็นยาทำให้นอนหลับ (Hypnotic) แอลคะลอยด์ที่เป็นสารเสพติดซึ่งออกฤทธิ์ตัวสำคัญที่สุดในฝิ่น คือ มอร์ฟีน (Morphine)

ประเภทที่ 2 ออกฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อหย่อนคลายตัว ซึ่งในทางเภสัชวิทยาถือว่า แอลคะลอยด์ ในฝิ่นประเภทนี้ ไม่เป็นสารเสพติด แต่มีฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อของร่างกายหย่อนคลายตัว ซึ่งมีปาเวอร์รีน (Papaverine) เป็นตัวสำคัญ

ฝิ่นเป็นพืชล้มลุกขึ้นในที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 3,000 ฟุตขึ้นไป เป็นยาเสพติดที่เป็นต้นตอของยาเสพติดร้ายแรง เช่น มอร์ฟีน เฮโรอีนและโคเดอีน มีการลักลอบปลูกฝิ่นมากทางภาคเหนือของประเทศไทย บริเวณแนวพรมแดน ที่เรียกว่า สามเหลี่ยมทองคำเนื้อฝิ่นได้มาจากยางของผลฝิ่น ที่ถูกกรีดจะมีสีขาว เมื่อถูกอากาศจะมีสีคล้ำลง กลายเป็นยางเหนียวสีน้ำตาลไหม้ หรือดำ มีกลิ่นเหม็นเขียว และรสขม เรียกว่า ฝิ่นดิบ ส่วนฝิ่นที่มี การนำมาใช้เสพ เรียกว่า ฝิ่นสุก ได้มาจากการนำฝิ่นดิบไปต้มหรือเคี่ยวจนสุข

ฤทธิ๋ในทางเสพติด

  ฝิ่นออกฤทธิ์กดระบบประสาท
            มีอาการเสพติดทางร่างกายและจิตใจ
            มีอาการขาดยาทางร่างกาย
อาการผู้เสพ :
จิตใจเลื่อยลอย ง่วง ซึม แก้วตาหรี่ พูดจาวกวน ความคิดเชื่องช้า ไม่รู้สึกหิว ชีพจรเต้นช้า
โทษทางกฎหมาย :
จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 2 ตามพระราช
มอร์ฟีน (Morphine)
มอร์ฟีน เป็นแอลคะลอยด์ (Alkaloid) ของฝิ่นที่สำคัญที่สุดซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้ฝิ่นมีฤทธิ์เดชแห่งความมึนเมา ชาวเยอรมันชื่อ SERTURNER เป็นผู้สกัดจากฝิ่นเมื่อปี ค.ศ. 1803 (พ.ศ. 2346) ได้เป็นครั้งแรก ฝิ่นชั้นดี จะมีมอร์ฟีนประมาณ 10% - 16% ฝิ่นหนัก 1 ปอนด์นำมาสกัดจะได้มอร์ฟีนประมาณ 0.22 ออนซ์ หรือ 6.6 กรัม มอร์ฟีนมีลักษณะ 2 รูป คือ รูปอิสระ (Free) และรูปเกลือ (Salt) สำหรับที่มีลักษณะเป็นรูปของเกลือ ได้แก่ ซัลเฟท (Sulfate) ไฮโดรคลอไรท์ (Hydrochloride) อาซิเตท (Acetate) และทาร์เตรท (Tartrate) มอร์ฟีนรูปเกลือที่นิยมทำมาก คือ Sulfate ในปัจจุบันมอร์ฟีนสามารถทำขึ้นได้โดยการสังเคราะห์ด้วยกรรมวิธีทางเคมีแล้ว
มอร์ฟีน เป็นผงสีขาวหรือเทาเกือบขาว ไม่มีกลิ่น มีรสขม มีฤทธิ์สูงกว่าฝิ่น เสพติดได้ง่าย มีลักษณะเป็นเม็ด เป็นผง และเป็นก้อน หรือละลายบรรจุหลอดสำหรับฉีด นำเข้าสู่ร่างกายโดยวิธีฉีดเป็นส่วนมาก มอร์ฟีนใช้เป็นยาหลักหรือมาตรฐานของยาแก้ปวด ยาจำพวกนี้กดระบบประสาทส่วนกลาง ลดความรู้สึกเจ็บปวด ทำให้รู้สึกง่วงหลับไป และลดการทำงานของร่างกายอาการข้างเคียงอื่นๆ ก็คือ อาจทำให้คลื่นเหียนอาเจียน ท้องผูก เกิดอาการคันบริเวณใบหน้า ตาแดงเพราะโลหิตฉีด ม่านตาดำหดตีบ และหายใจลำบาก
ฤทธิ์ในทางเสพติด
  มอร์ฟีนออกฤทธิ์กดระบบประสาท  มีอาการเสพติดทางร่างกายและจิตใจ มีอาการขาดยาทางร่างกาย
อาการผู้เสพ
คลื่นเหียนอาเจียน ท้องผูก เกิดอาการคันหน้า ตาแดง ซึม ง่วงนอน ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม
โทษทางกฎหมาย
จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 2 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522

ยาบ้า (Amphetamine)

ยาบ้า เป็นชื่อที่ใช้เรียกยาเสพติดที่มีส่วนผสมของสารเคมีประเภท
แอมเฟตามีน (Amphetamine) สารประเภทนี้แพร่ระบาดอยู่ 3 รูปแบบ ด้วยกัน คือ แอมเฟตามีนซัลเฟต (Amphetamine Sulfate) เมทแอมเฟตามีน (Methamphetamine) และเมทแอมเฟตามีนไฮโดรคลอไรด์ (Methamphetmine Hydrochloride) ซึ่งจากผลการตรวจพิสูจน์ยาบ้าปัจจุบัน ที่พบอยู่ในประเทศไทยมักพบว่า เกือบทั้งหมดมีเมทแอมเฟตามีนไฮโดรคลอไรด์ผสมอยู่

ยาบ้า จัดอยู่ในกลุ่มยาเสพติดที่ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท มีลักษณะเป็นยาเม็ดกลมแบนขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6-8 มิลลิเมตร ความหนาประมาณ 3 มิลลิเมตร น้ำหนักเม็ดยาประมาณ 80-100 มิลลิกรัม มีสีต่างๆ กัน เช่น สีส้ม สีน้ำตาล สีม่วง สีชมพู สีเทา สีเหลืองและสีเขียว มีสัญลักษณ์ ที่ปรากฎบนเม็ดยา เช่น ฬ, m, M, RG, WY สัญลักษณ์รูปดาว, รูปพระจันร์เสี้ยว, 99 หรืออาจเป็นลักษณะของเส้นแบ่งครึ่งเม็ด ซึ่งสัญลักษณ์เหล่านี้ อาจปรากฏบนเม็ดยาด้านใดด้านหนึ่ง หรือทั้งสองด้าน หรืออาจเป็นเม็ดเรียบทั้งสองด้านก็ได้
วิธีการเสพ :
วิธีการเสพยาบ้าทำได้หลายวิธี เช่น รับประทาน หรือนำไปผสมลงใน เครื่องดื่มครั้งละ 1/4, 1/2 หรือ 1-2 เม็ด หรือบางครั้งอาจใช้วิธีฉีดเข้าเส้น แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยม วิธีที่นิยมมากที่สุด ได้แก่ วิธีสูบ หมายถึง การใช้หลอดสูบเอาควันที่ได้จากการเผาไหม้เม็ดยาเข้าทางปากคล้ายกับการสูบบุหรี่ ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่มีอันตรายต่อร่างกายอย่างยิ่ง เพราะตัวยาจะออกฤทธิ์ต่อร่างกายอย่างรุนแรงและรวดเร็วกว่าวิธีการเสพในรูปแบบอื่น
ฤทธิ์ในทางเสพติด :
ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท มีอาการเสพติดทางร่างกายและจิตใจ ไม่มีอาการขาดยาทางร่างกาย
อาการผู้เสพ :
เมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายในระยะแรกจะออกฤทธิ์ทำให้ร่างกายตื่นตัว หัวใจเต็นเร็ว ความดันโลหิตสูง ใจสั่น ประสาทตึงเครียด แต่เมื่อหมดฤทธิ์ยาจะรู้สึกอ่อนเพลียมากกว่าปกติ ประสาทล้า ทำให้การตัดสินใจช้าและผิดพลาดเป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้ ถ้าใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้สมองเสื่อม เกิดอาการประสาทหลอน เห็นภาพลวงตา หวาดระแวง คลุ้มคลั่ง เสียสติ เป็นบ้าอาจทำร้ายตนเองและผู้อื่นได้ หรือในกรณีที่ได้รับยาในปริมาณมาก (Overdose) จะไปกดประสาท และระบบการหายใจ ทำให้หมดสติ และถึงแก่ความตายได้
โทษที่ได้รับ :
การเสพยาบ้าก่อให้เกิดผลร้ายหลายประการ ดังนี้1.  ผลต่อจิตใจ เมื่อเสพยาบ้าเป็นระยะเวลานานหรือใช้เป็นจำนวนมาก จะทำให้ผู้เสพมีความผิดปกติทางด้านจิตใจ กลายเป็นโรคจิตชนิดหวาดระแวง ส่งผลให้มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป เช่น เกิดอาการหวาดกลัว ประสาทหลอนซึ่งโรคนี้หากเกิดขึ้นแล้ว อาการจะคงอยู่ตลอดไป แม้ในช่วงเวลาที่ไม่ได้เสพยาก็ตาม2.  ผลต่อระบบประสาท ในระยะแรกจะออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท ทำให้ประสาทตึงเครียด แต่เมื่อหมดฤทธิ์ยาจะมีอาการประสาทล้า ทำให้การตัดสินใจเรื่องต่างๆ ช้า และผิดพลาดหากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้สมองเสื่อม หรือกรณีที่ใช้ยาในปริมาณมาก (Overdose) จะไปกดประสาทและระบบการหายใจ ทำให้หมดสติและถึงแก่ความตายได้3.  ผลต่อพฤติกรรม ฤทธิ์ของยาจะกระตุ้นสมองส่วนที่ควบคุมความก้าวร้าวและความกระวนกระวายใจ ดังนั้น เมื่อเสพยาบ้าไปนานๆ จะก่อให้เกิดพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป คือ ผู้เสพจะมีความก้าวร้าวเพิ่มขึ้นและหากยังใช้ต่อไปจะมีโอกาสเป็นโรคจิตชนิดหวาดระแวง เกรงว่าจะมีคนมาทำร้ายตนเองจึงต้องทำร้ายผู้อื่นก่อน
โทษทางกฎหมาย :
จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 1 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522

อ๊อพตาลิดอน-พี

อ๊อพตาลิดอน-พี มีประโยชน์ต่อวงการแพทย์อย่างไร
อ๊อพตาลิดอน-พี หรืออ๊อพ หรือยาอ๊อพ เป็นชื่อทางการค้าของยาแก้ปวดชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในประเภทยาควบคุมพิเศษ ช่วยบรรเทาอาการปวดหัวและครั่นเนื้อครั่นตัว หรือความรู้สึกไม่สบายที่เกิดจากไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ฯลฯ ปวดฟัน ปวดประจำเดือน อาการปวดจากการผ่าตัดเล็ก ฯลฯ

อ๊อพตาลิดอน-พี มีผลเสียต่อสุขภาพอย่างไร
ส่วนประกอบของตัวยาสำคัญที่พบใน อ๊อพตาลิดอน-พี คือ โปรปิพี-นาโซน (ไอโซบิวทิลแอนลิวบาบิโตน และคาเฟอีน) มีคุณสมบัติที่ก่อให้เกิดการเสพติด ผู้ที่ใช้ยานี้บ่อยๆ หรือใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานจะทำให้เกิดการเสพติดได้

ไอโซบิวทิลแอนลิวบาบิโตนและคาเฟอีนมีฤทธิ์ต่อร่างกายอย่างไร
ไอโซบิวทิลแอนลิวบาบิโตนอาจเรียกสั้นๆ ว่า บิวตาลปิตาล ยาชนิดนี้จัดเป็นยาในกลุ่มบาบิทูเรท ซึ่งเป็นกลุ่มยาที่ได้จากการสังเคราะห์ทางเคมี บิวตาลปิตาลมีฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง ในขนาดน้อยใช้เพื่อระงับประสาทได้ แต่ในขนาดสูงสามารถใช้เป็นยานอนหลับ และการใช้ยาเกินขนาด (ส่วนใหญ่มากกว่า 10 เท่า ของขนาดที่ทำให้หลับ) ผู้ใช้อาจเสียชีวิตได้ นอกจากนี้การใช้ยาชนิดนี้ร่วมกับยาหรือสารอื่นที่มีฤทธิ์กดประสาท เช่น ยานอนหลับ แอลกอฮอล์ ฯลฯ ก็อาจทำให้ผู้ใช้ถึงแก่ชีวิตได้ ผลจากการติดตัวยาชนิดนี้จะก่อให้เกิดโทษได้หลายอย่าง โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท เช่น มีอาการมึนงง ใจคอหงุดหงิด ความรู้สึกเลื่อนลอยหรือสับสน มีอาการทางจิตฟุ้งซ่าน อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย สำหรับผลต่อระบบส่วนอื่นๆ ของร่างกาย โรคหรืออาการที่อาจพบได้ เช่น ความดันโลหิตต่ำ ท้องผูก ฯลฯ กรณีผู้ที่ติดยานี้ (รวมถึงผู้ที่ติดอ๊อพตาลิดอน-พี) หรือยาชนิดอื่นในกลุ่มบาบิทูเรท เมื่อต้องการเลิกไม่ควรเลิกทันที แต่ควรค่อยๆ ลดขนาดยาลงเพราะไม่เช่นนั้นอาจเกิดอาการชักที่จะทำให้ถึงแก่ชีวิตได้

สำหรับ คาเฟอีน ซึ่งเป็นอีกชนิดหนึ่งที่เป็นส่วนผสมในอ๊อพตาลิดอน-พี นั้น เป็นสารธรรมชาติที่พบได้ในพืชหลายชนิด เช่น ต้นกาแฟ ชา โกโก้ ฯลฯ ยานี้จะไม่ใช้เดี่ยวๆ แต่มักผสมร่วมกับยาแก้ปวดบางชนิดที่มักผสมร่วมกับยาแก้ปวดบางชนิดที่มักพบว่านิยมผสมร่วมด้วย คือ แอสไพริน เพระเชื่อกันว่าคาเฟอีนช่วยเพิ่มการแสดงฤทธิ์ของยาแก้ปวดชนิดนี้ได้ คาเฟอีนมีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง จึงทำให้ผู้ใช้รู้สึกกระปรี้กระเปร่าไม่ง่วง ทั้งยังมีส่วนทำให้หัวใจเต้นแรงขึ้น ฯลฯ หากให้ยาเกินขนาดผู้ใช้จะเกิดอาการวิตกกังวล เครียดและใจสั่น เมื่อเทียบกับยากระตุ้นประสาทอื่นๆ การติดคาเฟอีนจะต้องใช้ขนาดสูงกว่าและช่วงระยะเวลานานกว่า รวมทั้งการติดมีความรุนแรงน้อยกว่า อย่างไรก็ดี การติดคาเฟอีนก่อให้เกิดผลเสียหลายอย่างเช่นกัน โดยเฉพาะผู้ติดที่เป็นผู้สูงอายุ ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นจะคล้ายคลึงกับอาการที่พบในผู้ที่ใช้คาเฟอีนเกินขนาดดังกล่าวข้างต้น รวมทั้งผู้ใช้จะมีอาการนอนไม่หลับ ความคิดสับสนปวดหัวบ่อยๆ หัวใจเต้นแรงและอาจพบเป็นโรคอุจจาระร่วงประจำ

อ๊อพตาลิดอน-พี

อ๊อพตาลิดอน-พี มีประโยชน์ต่อวงการแพทย์อย่างไร
อ๊อพตาลิดอน-พี หรืออ๊อพ หรือยาอ๊อพ เป็นชื่อทางการค้าของยาแก้ปวดชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในประเภทยาควบคุมพิเศษ ช่วยบรรเทาอาการปวดหัวและครั่นเนื้อครั่นตัว หรือความรู้สึกไม่สบายที่เกิดจากไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ฯลฯ ปวดฟัน ปวดประจำเดือน อาการปวดจากการผ่าตัดเล็ก ฯลฯ

อ๊อพตาลิดอน-พี มีผลเสียต่อสุขภาพอย่างไร
ส่วนประกอบของตัวยาสำคัญที่พบใน อ๊อพตาลิดอน-พี คือ โปรปิพี-นาโซน (ไอโซบิวทิลแอนลิวบาบิโตน และคาเฟอีน) มีคุณสมบัติที่ก่อให้เกิดการเสพติด ผู้ที่ใช้ยานี้บ่อยๆ หรือใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานจะทำให้เกิดการเสพติดได้

ไอโซบิวทิลแอนลิวบาบิโตนและคาเฟอีนมีฤทธิ์ต่อร่างกายอย่างไร
ไอโซบิวทิลแอนลิวบาบิโตนอาจเรียกสั้นๆ ว่า บิวตาลปิตาล ยาชนิดนี้จัดเป็นยาในกลุ่มบาบิทูเรท ซึ่งเป็นกลุ่มยาที่ได้จากการสังเคราะห์ทางเคมี บิวตาลปิตาลมีฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง ในขนาดน้อยใช้เพื่อระงับประสาทได้ แต่ในขนาดสูงสามารถใช้เป็นยานอนหลับ และการใช้ยาเกินขนาด (ส่วนใหญ่มากกว่า 10 เท่า ของขนาดที่ทำให้หลับ) ผู้ใช้อาจเสียชีวิตได้ นอกจากนี้การใช้ยาชนิดนี้ร่วมกับยาหรือสารอื่นที่มีฤทธิ์กดประสาท เช่น ยานอนหลับ แอลกอฮอล์ ฯลฯ ก็อาจทำให้ผู้ใช้ถึงแก่ชีวิตได้ ผลจากการติดตัวยาชนิดนี้จะก่อให้เกิดโทษได้หลายอย่าง โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท เช่น มีอาการมึนงง ใจคอหงุดหงิด ความรู้สึกเลื่อนลอยหรือสับสน มีอาการทางจิตฟุ้งซ่าน อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย สำหรับผลต่อระบบส่วนอื่นๆ ของร่างกาย โรคหรืออาการที่อาจพบได้ เช่น ความดันโลหิตต่ำ ท้องผูก ฯลฯ กรณีผู้ที่ติดยานี้ (รวมถึงผู้ที่ติดอ๊อพตาลิดอน-พี) หรือยาชนิดอื่นในกลุ่มบาบิทูเรท เมื่อต้องการเลิกไม่ควรเลิกทันที แต่ควรค่อยๆ ลดขนาดยาลงเพราะไม่เช่นนั้นอาจเกิดอาการชักที่จะทำให้ถึงแก่ชีวิตได้

สำหรับ คาเฟอีน ซึ่งเป็นอีกชนิดหนึ่งที่เป็นส่วนผสมในอ๊อพตาลิดอน-พี นั้น เป็นสารธรรมชาติที่พบได้ในพืชหลายชนิด เช่น ต้นกาแฟ ชา โกโก้ ฯลฯ ยานี้จะไม่ใช้เดี่ยวๆ แต่มักผสมร่วมกับยาแก้ปวดบางชนิดที่มักผสมร่วมกับยาแก้ปวดบางชนิดที่มักพบว่านิยมผสมร่วมด้วย คือ แอสไพริน เพระเชื่อกันว่าคาเฟอีนช่วยเพิ่มการแสดงฤทธิ์ของยาแก้ปวดชนิดนี้ได้ คาเฟอีนมีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง จึงทำให้ผู้ใช้รู้สึกกระปรี้กระเปร่าไม่ง่วง ทั้งยังมีส่วนทำให้หัวใจเต้นแรงขึ้น ฯลฯ หากให้ยาเกินขนาดผู้ใช้จะเกิดอาการวิตกกังวล เครียดและใจสั่น เมื่อเทียบกับยากระตุ้นประสาทอื่นๆ การติดคาเฟอีนจะต้องใช้ขนาดสูงกว่าและช่วงระยะเวลานานกว่า รวมทั้งการติดมีความรุนแรงน้อยกว่า อย่างไรก็ดี การติดคาเฟอีนก่อให้เกิดผลเสียหลายอย่างเช่นกัน โดยเฉพาะผู้ติดที่เป็นผู้สูงอายุ ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นจะคล้ายคลึงกับอาการที่พบในผู้ที่ใช้คาเฟอีนเกินขนาดดังกล่าวข้างต้น รวมทั้งผู้ใช้จะมีอาการนอนไม่หลับ ความคิดสับสนปวดหัวบ่อยๆ หัวใจเต้นแรงและอาจพบเป็นโรคอุจจาระร่วงประจำ

ยาอี ยาเลิฟ เอ็คซ์ตาซี   (ECSTASY)

ยาอี ยาเลิฟ เอ็คซ์ตาซี (Ecstasy) เป็นยาเสพติดกลุ่มเดียวกัน จะแตกต่างกันบ้างในด้านโครงสร้างทางเคมี เท่าที่พบส่วนใหญ่จะมีองค์ประกอบทางเคมีที่สำคัญ คือ 3,4 Methylenedioxy methamphetamine (MDMA), 3,4 Methylenedioxy amphetamine (MDA) และ 3,4 Methylenedioxy ethamphetamine (MDE หรือ MDEA) ลักษณะของยาอี มีทั้งที่เป็นแคปซูลและเป็นเม็ดยาสีต่างๆ แต่ที่พบในประเทศไทย ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นเม็ดกลมแบน เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.8-1.2 เซนติเมตร หนา 0.3-0.4 เซนติเมตร ผิวเรียบและปรากฏสัญลักษณ์บนเม็ดยาเป็นรูปต่างๆ เช่น กระต่าย, ค้างคาว, นก, ดวงอาทิตย์, P.T. ฯลฯ เสพโดยการรับประทานเป็นเม็ด จะออกฤทธิ์ภายในเวลา 45 นาที และฤทธิ์ยาจะอยู่ในร่างกายได้นานประมาณ 6-8 ชั่วโมงยาอี ยาเลิฟ เอ็คซ์ตาซี เป็นยาที่แพร่ระบาดในกลุ่มวัยรุ่นที่ชอบเที่ยวกลางคืน ออกฤทธิ์ใน 2 ลักษณะ คือ ออกฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทในระยะสั้นๆ หลังจากนั้นจะออกฤทธิ์หลอนประสาทอย่างรุนแรง ฤทธิ์ของยาจะทำให้ผู้เสพรู้สึกร้อน เหงื่อออกมาก หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง การได้ยินเสียงและการมองเห็นแสงสีต่างๆ ผิดไปจากความเป็นจริง เคลิบเคลิ้ม ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ อันเป็นสาเหตุที่จะนำไปสู่พฤติกรรมเสื่อมเสียต่างๆ และจากการค้นคว้าวิจัยของแพทย์และนักวิทยาศาสตร์หลายท่าน พบว่า ยาชนิดนี้มีอันตรายร้ายแรง แม้จะเสพเพียง 1-2 ครั้ง ก็สามารถทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ส่งผลให้ผู้เสพมีโอกาสติดเชื้อโรคต่างๆ ได้ง่าย และยังทำลายเซลล์สมองส่วนที่ทำหน้าที่ส่งสารซีโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นสารสำคัญในการควบคุมอารมณ์ให้มีความสุข ซึ่งผลจากการทำลายดังกล่าว จะทำให้ผู้เสพเข้าสู่สภาวะของอารมณ์ที่เศร้าหมองหดหู่อย่างมาก และมีแนวโน้มการฆ่าตัวตายสูงกว่าคนปกติ
ฤทธิ์ในทางเสพติด :
ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาทในระยะสั้นๆ จากนั้นจะออกฤทธิ์หลอนประสาท มีอาการติดยาทางจิตใจ ไม่มีอาการขาดยาทางร่างกาย
อาการผู้เสพ :
เหงื่อออกมาก หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหติสูง ระบบประสาทการรับรู้เปลี่ยนแปลงทั้งหมด (Psychedelic) ทำให้การได้ยินเสียงและการมองเห็นแสงสีต่างๆ ผิดไปจากความเป็นจริง เคลิบเคลิ้ม ควบคุมอารมณ์ไม่ได้
โทษที่ได้รับ :
การเสพยาอีก่อให้เกิดผลร้ายหลายประการ ดังนี้1.  ผลต่ออารมณ์ เมื่อเริ่มเสพในระยะแรกยาอีจะออกฤทธิ์กระตุ้นประสาทให้ผู้เสพรู้สึกตื่นตัวตลอดเวลา ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้เป็นสาเหตุให้เกิดพฤติกรรมสำส่อนทางเพศ2.  ผลต่อการรับรู้ การรับรู้จะเปลี่ยนแปลงไปจากความเป็นจริง3.  ผลต่อระบบประสาท ยาอีจะทำลายระบบประสาททำให้เซลล์สมองส่วนที่ทำหน้าที่หลั่งสารซีโรโทนิน (Seortonin) ซึ่งเป็นสารสำคัญในการควบคุมอารมณ์นั้นทำงานผิดปกติ กล่าวคือ เมื่อยาอีเข้าสู่สมองแล้วจะทำให้เกิดการหลั่งสาร "ซีโรโทนิน" ออกมามากเกินกว่าปกติ ส่งผลให้จิตใจสดชื่นเบิกบาน แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไป สารดังกล่าวจะลดน้อยลงทำให้เกิดอาการซึมเศร้า หดหู่อย่างมาก อาจกลายเป็นโรคจิตประเภทซึมเศร้า (Depression) และอาจเกิดสภาวะอยากฆ่าตัวตาย นอกจากนี้ การที่สารซีโรโทนินลดลงยังทำให้ธรรมชาติของการหลับนอนผิดปกติ จำนวนเวลาของการหลับลดลง นอนหลับไม่สนิท จึงเกิดอาการอ่อนเพลียขาดสมาธิในการเรียนและการทำงาน
โทษทางกฎหมาย :
จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 1 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522

สารระเหย   (INHALANT)

สารระเหย (Inhalant) คือ สารที่ได้จากขบวนการสกัดน้ำมันปิโตรเลียม มีลักษณะเป็นไอระเหยได้ในอากาศ ประกอบด้วย Toluene, Acetone, Butane, Benzen, Trichloroe Thylene ซึ่งพบในกาว แลคเกอร์ ทินเนอร์ น้ำมันเบนซิน ยาล้างเล็บ เมื่อสูดดมเข้าไปจะทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย

อาการผู้เสพ :
ผู้เสพจะมีอาการเคลิบเคลิ้ม ศรีษะเบาหวิว ตื่นเต้น พูดจาอ้อแอ้ พูดไม่ชัด น้ำลายไหลออกมามาก เนื่องจากสารที่สูดดมเข้าไปทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุภายในจมูกและปาก การสูดดมลึกๆ หรือซ้ำๆ กัน แม้ในช่วงเวลาสั้นๆ ทำให้ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ทำให้ขาดสติหรือเป็นลมชัก กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน ระบบประสาทอัตโนมัติ (Reflexes) ถูกกด มีเลือดออกทางจมูก หายใจไม่สะดวก
โทษที่ได้รับ :
1.  ระบบทางเดินหายใจ มีอาการระคายเคืองหลอดลม เยื่อบุจมูกมีเลือดออก หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ2.  ระบบทางเดินอาหาร มีเลือดออกในกระเพาะอาหาร เนื้อตับถูกทำลาย3.  ระบบทางเดินปัสสาวะ ไตอักเสบจนถึงพิการ ปัสสาวะเป็นเลือด เป็นหนอง หรือมีลักษณะคล้ายไข่ขาว4.  ระบบหัวใจและหลอดเลือด หัวใจเต้นผิดปกติ5.  ระบบสร้างโลหิต ไขกระดูกซึ่งมีหน้าที่สร้างเม็ดโลหิตหยุดทำงานเกิดเม็ดโลหิตแดงต่ำ เกล็ดเลือดต่ำ ทำให้ซีด เลือดออกได้ง่าย ตลอดจนทำให้เลือดแข็งตัวช้า ในขณะที่เกิดบาดแผล บางรายเกิดเป็นมะเร็งในเม็ดเลือดขาว6.  ระบบประสาท ปลายประสาทอักเสบ มีอาการชาตามปลายมือ ปลายเท้า เกิดอาการอักเสบของกล้ามเนื้อ ทำให้ลูกตาแกว่ง ลิ้นแข็งพูดลำบาก สมองถูกทำลายจนเซลล์สมองฝ่อ เป็นโรคสมองเสื่อมก่อนวัยอันควร7.  ระบบกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อฝ่อลีบ จนถึงกับเป็นอัมพาตได้8.  ระบบสืบพันธุ์ ทำให้เด็กที่เกิดมาจากผู้ติดสารระเหย มีอาการไม่สมประกอบ
ฤทธิ์ในทางเสพติด :
สารระเหยออกฤทธิ์กดระบบประสาท มีอาการเสพติดทางร่างกายเล็กน้อย มีอาการเสพติดทางจิตใจ มีอาการขาดยาแต่ไม่รุนแรง
โทษทางกฎหมาย :
สารระเหยจัดเป็นสารเสพติดตามพระราชกำหนดป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ. 2533

การหยุดเสพสารระเหย

การหยุดเสพสารระเหยอย่างเด็ดขาดในทันทีของคนที่สูดดมเป็นประจำติดต่อกันเป็นเวลานาน ไม่ปรากฏว่ามีอาการขาดยาเสพติดเกิดขึ้นแต่อย่างใด แต่บางคนทีอาการปวดท้องภายหลังเลิกเสพ แต่ก็มิได้หมายถึงว่าเป็นอาการขาดยาเสพติด ซึ่งตรงกับการค้นพบของ Rodo ในปี 1956 และ Fenichel ในปี 1945 ว่าสารระเหยไม่มีฤทธิ์ทำให้เกิดภาวะการเสพติดแต่มีแรงดลใจให้ผู้เสพทำการสูดดมเป็นประจำ
เนื่องจากการหยุดเสพจะทำให้มีอาการผิดปกติเกิดขึ้นกับร่างกาย บางคนจึงถือว่าสารเหล่านี้เป็นสารเสพติด อาการที่ปรากฏหลังจากหยุดเสพ ได้แก่ อาการหนาวสั่น ประสาทหลอน ปวดศรีษะ ปวดท้อง ปวดกล้ามเนื้อ มีอาการทางจิต คลุ้มคลั่ง โมโหง่ายอาจถึงขั้นทะเลาะเบาะแว้งกับคนอื่นได้
อาการขาดยาจะพบในคนไข้ ที่มีอาการรุนแรงซึ่งต้องรักษาในโรงพยาบาล มีอาการคล้ายกับอาการขาดแอลกอฮอล์ซึ่งจะหายเมื่อเสพใหม่

จะปฏิบัติตนอย่างไรเมื่อมีความจำเป็นต้องใช้สารระเหย

เมื่อมีความจำเป็นต้องใช้สารระเหยควรใช้ผ้าปิดปากปิดจมูก ในขณะที่ใช้ควรอยู่เหนือลมหรืออยู่ในที่ที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อเป็นการป้องกันมิให้ร่างกายได้รับสารระเหย และหมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำ

เห็ดขี้ควาย

เห็ดขี้ควาย เป็นเห็ดพิษซึ่งขึ้นอยู่ตามกองมูลควายแห้ง สีของเห็ดจะมีสีเหลืองซีดคล้ายสีฟางแห้ง บนหัวของร่มจะมีสีน้ำตาลเข็มจนถึงสีดำ บริเวณก้าน (Stalk) ที่ใกล้จะถึงตัวร่ม จะมีแผ่นเนื้อเยื่อบางๆ สีขาวแผ่ขยายออกรอบก้าน แผ่นนี้มีลักษณะคล้ายวงแหวนเห็ดขี้ควายมีขึ้นอยู่ทั่วไปแทบทุกภาคของประเทศ ลักษณะของเห็ดตัวสมบูรณ์และโตเต็มที่ ตรงบริเวณหมวกจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6.5 - 8.8 เซนติเมตร ความสูงของลำต้นประมาณ 5.5 - 8.0 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.8 - 1.0 เซนติเมตรเห็ดขี้ควาย เป็นที่รู้จักกันทั่วไปในบรรดานักท่องเที่ยวว่า "Magic Mushroom" มีการแพร่ระบาดอยู่ในกลุ่มนักท่องเที่ยวบางกลุ่ม และในบางพื้นที่ของประเทศ เช่น ภาคใต้
อาการผู้เสพ :
ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล สำหรับคนไทยส่วนใหญ่ไม่นิยมบริโภคเห็นชนิดนี้เลย เพราะทราบว่าเป็นเห็ดพิษ กินเข้าไปแล้วจะรู้สึกร้อนวูบวาบตามเนื้อตามตัว แน่นหน้าอก ไม่สบาย บางครั้งคลื่นไส้อาเจียน
โทษที่ได้รับ :
ในเห็ดขี้ควาย มีสารออกฤทธิ์ทำลายประสาทอย่างรุนแรง คือ ไซโลซีนและไซโลไซบีนผสมอยู่เมื่อบริโภคเข้าไปทำให้มีอาการเมาเคลิ้มและบ้าคลั่งในที่สุด นอกจากนั้นหากบริโภคเข้าไปมากๆ หรือผู้ที่มีภูมิต้านทานน้อย อาจทำอันตรายถึงแก่ชีวิต
โทษทางกฎหมาย :
จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522

แอลกอฮอล์   (ALCOHOL)

แอลกอฮอล์ เป็นของเหลวไม่มีสี แอลกอฮอล์ในเครื่องดื่มมึนเมา คือ เอธิลแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มมึนเมาชนิดต่างๆ เช่น เหล้า เบียร์ วิสกี้ บรั่นดี จะมีปริมาณของเอธิลแอลกอฮอล์แตกต่างกัน
ฤทธิ์ในทางเสพติด
ออกฤทธิ์กดประสาท มีการเสพติดทั้งทางร่างกายและจิตใจ
อาการผู้เสพ :
ถ้าดื่มมากๆ จะกัดกระเพาะอาหารเกิดเป็นแผลในกระเพาะอาหาร ความรู้สึกนึกคิดผิดไป ควบคุมตนเองไม่ได้ ไม่สามารถยับยั้งตนเองจึงอาจแสดงอาการบางอย่างออกมา เช่น ดุร้าย ทะเลาะวิวาท พูดมาก นอกจากนี้ยังมีอาการหน้าแดง ตัวแดง ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นแรง ปัสสาวะบ่อย ถ้าดื่มมากขึ้นอีกจะทำให้การรับรส กลิ่น เสียง และสัมผัสลดลง คนที่เสพติดแอลกอฮอล์หรือคนที่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง จะมีใบหน้าบวมฉุ หน้าแดง ตาแดง ผิวหนังคล้ำ มือสั่น ลมหายใจมีกลิ่นแอลกอฮอล์
โทษที่ได้รับ :
ถ้าดื่มเป็นระยะเวลานานๆ จะทำให้เกิดโรคพิษสุราเรื้อรัง ทำลายตับและสมอง สติปัญญาเสื่อม ควบคุมตัวเองไม่ได้ จิตใจผิดปกติ กล้ามเนื้ออ่อนเปลี้ย เป็นตะคริว ปลายมือปลายเท้าชา กระเพาะอาหารอักเสบ เบื่ออาหาร ร่างกายซูบผอม และอาจเกิดโรคตับแข็งถ้าเสพติดมาก และไม่ได้เสพจะมีอาการกระวนกระวาย อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ เหงื่อออกมาก คลื่นไส้ อาเจียน หัวใจเต้นเร็ว อารมณ์ฉุนเฉียว อาจมีอาการชักประสาทหลอน เป็นโรคจิต และถ้าดื่มแอลกอฮอล์ร่วมกับยาที่กดประสาท เช่น ยานอนหลับ ยากล่อมประสาท จะเสริมฤทธิ์กันทำให้มีอันตรายมากขึ้นได้

เบียร์และสุราต่างกันอย่างไร

ทั้งเบียร์และสุราเป็นเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ มีคุณค่าทางอาหารต่ำแต่มีแคลอรี่สูง เบียร์แตกต่างจากสุราที่ปริมาณแอลกอฮอล์และกรรมวิธีในการผลิต เบียร์ทำโดยการหมักข้าวบาร์เลย์งอก (MALTED BARLY) โดยไม่ได้กลั่น มีปริมาณแอลกอฮอล์น้อย ประมาณ 4 - 6% โดยปริมาตร ส่วนสุราชนิดต่าง เช่น วิสกี้ บรั่นดี วอดก้า แม่โขง เป็นเหล้าชนิดกลั่นมีปริมาณแอลกอฮอล์สูงกว่า ประมาณ 40 - 50% โดยปริมาตร

เหล้าดองมีโทษและประโยชน์อย่างไร

การดื่มเหล้าดองจะมีโทษจากการที่ดื่มแอลกอฮอล์นั่นเอง เหล้าที่ใช้ในการดองยา คือเหล้าขาว เหล้าจีน ซึ่งมีปริมาณแอลกอฮอล์สูง ถ้าดื่มในปริมาณน้อยๆ จะให้เจริญอาหารและช่วยให้ย่อยอาหารดีขึ้น ถ้าดื่มมากเกินไปจะระคายเคืองกระเพาะอาหาร และอาจเกิดกระเพาะอักเสบหรือเป็นแผลในกระเพาะ นอกจากนี้หญิงหลังคลอดจะมีอัตราการเปลี่ยนสภาพแอลกอฮอล์และขจัดแอลกอฮอล์ได้น้อยเพราะตับทำงานได้น้อยกว่าคนปกติ อาจเกิดอันตรายจากระดับแอลกอฮอล์ในเลือดที่สูงเกินไป และอาจเกิดการเสพติดทั้งทางร่างกายและจิตใจ อาจเกิดเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง นอกจากนั้นการใช้เหล้าดองสมุนไพร
แอลเอสดี
แอลเอสดี เป็นสารสกัดจากกรดไลเซอจิกที่มีในเชื้อราชนิดหนึ่งชอบขึ้นในข้าวไรย์ มีลักษณะเป็นผงละลายน้ำได้ อาจพบแอลเอสดีเป็นเม็ดยาแคปซูล หรือผสมในทอฟฟี่ ที่พบว่าแพร่ระบาดมากมีลักษณะเป็นแผ่นกระดาษชุบหรือเคลือบสารแอลเอสดี และปรุแบ่งเป็นชิ้นเล็กๆ ลักษณะเดียวกับแสตมป์ แต่มีขนาดเล็กกว่าแสตมป์ โดยบนแผ่นกระดาษที่เคลือบสารแอลเอสดีนั้นจะมีสัญลักษณ์หรือรูปภาพต่างๆ แอลเอสดีมีความรุนแรงในการออกฤทธิ์ต่อสมองสูงคือใช้ในปริมาณแค่ 25 MICROGRAM (25/1 ล้านส่วนของกรัม) แอลเอสดีมีชื่อเรียกอีกหลายชื่อ เช่น เมจิคเปเปอร์ แอสซิสแสตมป์
วิธีการเสพ : การเสพอาจทำได้หลายวิธี เช่น การฉีด หรือการนำกระดาษที่เคลือบแอลเอสดีอยู่มาเคี้ยว หรืออม หรือวางไว้ใต้ลิ้น
ฤทธิ์ในทางเสพติด :
ออกฤทธิ์หลอนประสาทอย่างรุนแรง ไม่มีอาการเสพติดทางร่างกาย มีอาการเสพติดทางจิตใจ
อาการผู้เสพ :
เคลิบเคลิ้ม ฝันเฟื่อง ความดันโลหิตสูง อุณหภูมิในร่างกายสูง หายใจไม่สม่ำเสมอ
โทษที่ได้รับ :
ฤทธิ์ของยาจะทำให้ผู้เสพเห็นภาพลวงตา หูแว่ว เพ้อฝัน คิดว่าตนเองเป็นผู้วิเศษ หรือคิดว่าเหาะได้อาจมีอาการทางจิตประสาทรุนแรง มีอาการหวาดระแวง เกิดอาการกลัว ภาพหลอน (BAD TRIP) จึงต้องหนีจากความหวาดกลัว เช่น การขับรถหนี หรือเหาะหนี หรือฆ่าตัวตายเพราะความหวาดกลัว
โทษทางกฎหมาย :
เป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 1 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติด ให้โทษ พ.ศ. 2522

เฮโรอีน   (HEROIN)

เฮโรอีนเป็นยาเสพติดที่ได้จากการสังเคราะห์ทางเคมี จากปฏิกิริยาระหว่างมอร์ฟีนกับสารเคมีบางชนิด เช่น อาเซติคแอนไฮไดรด์ (ACETIC ANHYDRIDE) หรือ อาเซติลคลอไรด์ (ACETYL CHLORIDE) หรือเอทิลิดีนไดอาเซเตต (ETHYLIDENE DIACETATE) โดยนักวิจัยชาวอังกฤษ ชื่อ C.R. WRIGHT ได้ค้นพบวิธีการสังเคราะห์ เฮโรอีนจากมอร์ฟีนโดยใช้น้ำยาอาเซติคแอนไฮไดรด์ (ACETIC ANHYDRIDE) และบริษัทผลิตยาไบเออร์ (BAYER) ได้นำมาผลิตเป็นยาออกสู่ตลาดโลก ในชื่อทางการค้าว่า "HEROIN" และนำมาใช้แทนมอร์ฟีนอย่างแพร่หลาย หลังจากที่มีการใช้เฮโอีนในวงการแพทย์นานถึง 18 ปี จึงทราบถึงอันตรายและผลที่ทำให้เกิดการเสพติดที่ให้โทษอย่างร้ายแรงจนปี พ.ศ. 2467 (ค.ศ. 1924) ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ออกกฎหมายระบุให้เฮโรอีนเป็นยาเสพติดให้โทษ ห้ามมิให้ผู้ใดมีไว้ในครอบครองหลังจากนั้นต่อมาอีก 35 ปี คือ เมื่อปี พ.ศ. 2502 เฮโรอีนจึงได้แพร่ระบาดสู่ประเทศไทย และในปี พ.ศ. 2504 ประเทศไทยจึงออกกฎหมาย ระบุให้เฮโรอีนและมอร์ฟีนเป็นยาเสพติดให้โทษ
เฮโรอีนออกฤทธิ์แรงกว่ามอร์ฟีนประมาณ 4-8 เท่า และออกฤทธิ์แรงกว่าฝิ่น ประมาณ 30-90 เท่า โดยทั่วไปเฮโรอีน จะมีลักษณะเป็นผงสีขาว สีนวล หรือสีครีม มีรสขม ไม่มีกลิ่น และแบ่งได้เป็น 2 ประเภท เช่นเดียวกับมอร์ฟีน ได้แก่ เฮโรอีนเบส (HEROIN BASE) ซึ่งมีคุณลักษณะเด่น คือ ไม่ละลายน้ำ ส่วนอีกประเภทหนึ่ง คือ เกลือของเฮโรอีน (HEROIN SALT) เช่น เฮโรอีนไฮโดรคลอไรด์ (HEROIN HYDROCHLORIDE)
เฮโรอีนที่แพร่ระบาดในประเทศไทย แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
1.  เฮโรอีนผสม หรือเรียกว่า เฮโรอีนเบอร์ 3 หรือไอระเหย เป็นเฮโรอีนที่มีความบริสุทธิ์ต่ำ เนื่องจากมีการผสมสารอื่นเข้าไปด้วย เช่น ผสมสารหนู สตริกนิน ยานอนหลับ คาเฟอีน แป้ง น้ำตาลและอาจผสมสี เช่น สีม่วงอ่อน สีชมพูอ่อน สีน้ำตาล อาจพบในลักษณะเป็นผง เป็นเกล็ดหรืออัดเป็นก้อนเล็กๆ มีวิธีการเสพโดยการสูดเอาไอสารเข้าร่างกาย จึงเรียกว่า "ไอระเหย" หรือ "แคป"
2.  เฮโรอีนเบอร์ 4 เป็นเฮโรอีนไฮโดรคลอไรด์ที่มีความบริสุทธิ์สูง มีลักษณะเป็นผงละเอียด หรือเป็นเม็ดคล้ายไข่ปลา หรือพบในลักษณะอัดเป็นก้อนสี่เหลี่ยมผืนผ้า มักมีสีขาวหรือสีครีม ไม่มีกลิ่น มีรสขม เป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่า “ผงขาว” มักเสพโดยนำมาละลายน้ำแล้วฉีดเข้าร่างกาย หรือผสมบุหรี่สูบ
การบรรจุเฮโรอีน
การบรรจุเฮโรอีนเพื่อจำหน่ายนั้น มีลักษณะการบรรจุดังนี้1.  ตัว คือ เฮโรอีนบรรจุในหลอดกาแฟ หรือกระดาษปิดหัวท้ายยาว 1 นิ้ว ใน 1 ตัว มีเนื้อเฮโรอีนประมาณ 50 มิลลิกรัม2.  ฝา คือ ฝาของบิ๊ก 1 ฝา จะมีขนาดยา 1 ใน 5 ของบิ๊กนั้นๆ เช่น ฝาเบอร์ 5 จะมีเฮโรอีนประมาณ 200 มิลลิกรัม ฝาบิ๊กเบอร์ 3 จะมีเฮโรอีนประมาณ 100 มิลลิกรัม3.  บิ๊ก คือ เฮโรอีนที่บรรจุในหลอดใส่ยา เรียกตามขนาดของหลอดที่ใช้ เช่น บิ๊กเบอร์ 5 ใช้หลอดเบอร์ 5 แต่ถ้าใช้บิ๊กเบอร์ 6 เรียกบิ๊กเบอร์ 3 เป็นครึ่งหนึ่งของบิ๊กเบอร์ 5 คือมีเฮโรอีนประมาณ 500 มิลลิกรัม
4.  ใส่กระบอกฉีดยาขนาด 5 ซีซี ขนาดของเฮโรอีนนั้นไม่ทราบแน่นอน ส่วนใหญ่จะอยู่ระหว่าง 60-70 เปอร์เซ็นต์ ใช้ฉีดเข้าเส้นเลือดดำ กระบอกที่ใช้มักไม่สะอาด น้ำที่ใช้ส่วนใหญ่ใช้น้ำประปามีส่วนน้อยที่ใช้น้ำกลั่น ถ้ามีอาการอยากยามาก จะไม่คำนึงถึงความสะอาด อาจใช้น้ำคลองหรือน้ำอะไรก็ได้ที่หาได้ในขณะนั้น
อาการผู้เสพ :
1.  มีอาการปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระดูก ปวดตามข้อ ปวดสันหลัง ปวดบั้นเอว ปวดหัวรุนแรง2.  มีอาการจุกแน่นในอก คล้ายใจจะขาด อ่อนเพลียอย่างหนัก หมดเรี่ยวแรง มีอาการหนาวๆ ร้อนๆ อึดอัดทุรนทุราย นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย บางรายมีอาการชักตาตั้ง น้ำลายฟูมปาก ม่านตาดำหดเล็กลง3.  ใจคอหงุดหงิดฟุ้งซ่าน มึนงง หายใจไม่ออก4.  ประสาทเสื่อม ความจำเสื่อม
โทษทางร่างกาย :
1.  โทษต่อผิวหนัง เป็นอาการที่ทำให้เส้นเลือดใต้ผิวหนังเกิดการขยายตัว เกิดเป็นตุ่มแดงเล็กๆ ขึ้นบริเวณผิวหนัง และกระตุ้นสารฮิสตามีน ( HISTAMINE ) และกระตุ้นต่อมเหงื่อด้วย อาการนี้พบได้หลังจากที่เสพเฮโรอีนใหม่ๆ จะมีอาการคันใต้ผิวหนัง นอกจากนี้ ผู้เสพจะมีเหงื่อออกมากกว่าปกติและขนลุก2.  โทษต่อลำไส้ ทำให้ลำไส้บิดตัวลดลง ผู้เสพจึงมีอาการท้องผูก3.  กดศูนย์การหายใจ ทำให้หายใจช้ากว่าปกติ ถ้าใช้ในปริมาณมากจะทำให้หัวใจหยุดเต้นได้4.  ทำลายฮอร์โมนเพศ ถ้าผู้เสพเป็นเพศหญิง จะทำให้ประจำเดือนมาผิดปกติ ถ้าผู้เสพเป็นเพศชาย จะทำให้ฮอร์โมนเพศลดลง ไม่มีความรู้สึกต้องการทางเพศ5.  ทำลายระบบภูมิคุ้มกันโรคของร่างกาย ผู้เสพจึงมีโอกาสติดเชื้อโรคได้ง่าย อาการที่พบเห็นภายนอก คือ ผิวหนังมีอาการติดเชื้อ เป็นแผลพุพอง ติดเชื้อวัณโรค ติดเชื้อโรคตับอักเสบ นอกจากนี้ผู้เสพติดเฮโรอีนจะทำให้ติดโรคเอดส์ได้ง่ายกว่าปกติ เพราะผู้เสพมักใช้เข็มฉีดยาที่ไม่ได้ทำความสะอาด หรือใช้เข็มฉีดยาร่วมกันจนทำให้ติดเชื้อ HIV ผู้เสพติดเฮโรอีนที่ติดเชื้อ HIV ก็จะเป็นผู้แพร่ระบาด HIV เนื่องจากการจับกลุ่มใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน หรือในบางครั้งก็มีเพศสัมพันธ์ร่วมกันโดยไม่ได้ป้องกัน
ฤทธิ์ในทางเสพติด :
เฮโรอีนออกฤทธิ์กดระบบประสาท มีอาการเสพติดทางร่างกายและจิตใจ มีอาการขาดยาทางร่างกายอย่างรุนแรง
การเลิกเสพเฮโรอีน
การเลิกเสพเฮโรอีนนั้นจะต้ดงทำภายใต้การควบคุมดูแลของแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ เพราะการเลิกเสพจะทำให้เกิดอาการถอนยา มีอาการตั้งแต่จาม เป็นตะคริว หนาวสั่น ใจสั่น อาเจียน ไปจนถึงชัก หมดสติและอาจถึงตายได้ หากไม่ได้รับการรักษาปัจจุบันในหลายประเทศมีความพยายามที่จะศึกษาหาวิธีการควบคุมอาการถอนยา และทำให้ความทรมานนั้นลดลง ซึ่งก็ประสบผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ ไม่ว่าะเป็นวิธีการลดยาอย่างค่อยเป็นค่อยไป หรือการทดแทนด้วยยาที่มีอันตรายน้อยกว่า เช่น เมธาโดน หลังจากนั้นจึงค่อยๆ ถอนยาเหล่านี้ไปอย่างช้าๆ วิธีการรักษาแบบนี้จะช่วยให้ผู้เลิกยามีอาการถอนยาที่ไม่รุนแรง เช่น อาจมีอาการเหมือนเป็นไข้หวัดใหญ่เท่านั้น แต่สิ่งที่ยากที่สุดคือ ทำอย่างไรจึงจะป้องกันไม่ให้ผู้ที่เพิ่งเลิกยาหันกลับไปเสพอีก
ผู้ที่ต้องการเลิกเสพเฮโรอีนและยาเสพติดอื่นๆ สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานต่างๆ เช่น ศูนย์ให้คำปรึกษาแนะนำและฟื้นฟูผู้มีปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติด กทม., ศูนย์อาสาสมัครยาเสพติด สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย, ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดประเวศ และศูนย์บำบัดรักษายาเสพติดในภาคต่างๆ
โทษทางกฎหมาย



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น